การบริหารจัดการวงจรชีวิตอาคาร

การบริหารจัดการวงจรชีวิตอาคาร

Building Life Cycle Management (BLM)

โดย...อ. ปิยะบุญ นิลแก้ว
 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

                ในกระบวนการของวงจรภาคอุตสาหกรรมทั้งในด้านของการออกแบบอาคาร การก่อสร้างและการบริหารจัดการอาคารในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงถือว่าเป็นรากฐานของความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและระดับโลก โดยโครงสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวก็มีปริมาณของฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศและส่งผลถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ถึง 10% หรืออาจจะมากกว่าการพัฒนาประเทศที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบันนับว่าให้ความสำคัญ เป็นนัยยะ ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างมาก เช่น ประเทศจีน มีการวางรากฐานของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางด้านการก่อสร้างมีผลเป็นอย่างมากต่อมูลค่ามวลรวมของกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งกระบวนการในการก่อสร้างอาคารมีการใช้พลังงานและวัตถุดิบของโลกอย่างต่อเนื่องประมาณการณ์ถึง 40% ของทั้งหมด อาคารที่มีเกี่ยวเนื่องต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้วัสดุ รวมถึงเป็นก้าวแห่งการพัฒนางานระบบก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์ได้แก่ ดอมทาวเวอร์ ปิโตรนัส ทาวเวอร์ สะพานอะกาชิไคโก และ วอลล์ดิสนีย์คอนเสิร์ตฮอล เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาคารเหล่านี้จะประสบความสำเร็จอย่างงดงามในกระบวนการของการก่อสร้างและการใช้วัสดุ แต่ก็ไม่มีประสิทธิผลของการใช้งานในด้านอื่นๆเช่นกัน จึงทำให้ผลลัพธ์ของการลงทุนในวงจรของอุตสาหกรรมการก่อสร้างภาพรวมในรอบ 40 ปีที่ผ่านมามีการถดถอยลงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ

                ปัจจัยหลายประการที่เป็นเหตุให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอาคาร ขาดประสิทธิภาพอาจจะรวมถึงการขาดการแยกแยะวิเคราะห์ปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆอย่างครบวงจรและรอบด้าน อีกทั้งยังขาดการจัดการข้อมูลที่ดี การนำเทคโนโลยีสารสนเทศของอุตสาหกรรมการก่อสร้างเพียงใช้ในลักษณะของการปรับปรุงขั้นพื้นฐานรวมถึงเป็นเสมือนหนึ่งคู่มือในการใช้งานเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมด้านอื่นๆที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการขับเคลื่อนกระบวนการการปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตของสินค้าในแต่ละหน่วย รวมถึงปรับปรุงคุณภาพรวมของกระบวนการผลิตทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นปัญหาในการนำสารสนเทศมาประสานงานที่ไม่มีผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการทั้งหมดและปัจจัยแบบแยกส่วนที่จะต้องประสานรวมเป็นเนื้อเดียวกัน

               ตัวแปรของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการการผลิตและการก่อสร้างในอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้อย่างมากอย่างมากและส่งผลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ สองตัวแปรขั้นพื้นฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สามารถใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้เป็นอย่างดีเรียกว่า

            Building Lifecycle Management (BLM)–กระบวนวิธีการจัดการเชิงดิจิตอลเพื่อสร้างจัดการและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสินทรัพย์เป็นทุนของข้อมูลที่มีประโยชน์ตลอดวงจรชีวิตของอาคาร รวมถึงยังรวมแนวคิดในการที่จะรื้อถอนหรือนำมาใช้ใหม่ผสานเข้าไปอีกระดับ

            Building Information Modeling (BIM) - การสร้างและการใช้ประโยชน์จากการประสานงานของข้อมูลที่สอดคล้องกันภายในเกี่ยวกับโครงการอาคารในการออกแบบและก่อสร้าง.


                ทั้งสองเทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นข้อมูลที่ใช้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมในกระบวนการของการก่อสร้างอาคารที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งครอบคลุมบุคลากรที่มีความเกี่ยวเนื่องในอาคารนั้นๆอย่างครบถ้วนและหมายความครอบคลุมรวมที่จะช่วยลดการสูญเสียข้อมูลและความสร้างเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การดำเนินการของ BLM และ BIM มีรูปแบบของการใช้ปฏิบัติงานที่เป็นไปเกินกว่างานบุคคลเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อเป็นการบูรณาการกระบวนการทั้งหมดในการออกแบบและการก่อสร้าง ดังนั้นมันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงความสำคัญจากกระบวนการผลิตและก่อสร้างในแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามผลของการใช้ BLM และ BIM อย่างมีนัยสำคัญสามารถเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง จึงทำให้ผลผลิตของอุตสาหกรรมมีการแข่งขันมากขึ้นและอย่างต่อเนื่องและยังช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

                การพัฒนาเครื่องมือที่มีการนำแนวคิดของการบริหารจัดการวงจรชีวิตอาคาร (Building Lifecycle Management:BLM) และ โมเดลข้อมูลอาคาร (Building information modeling: BIM) ช่วยในการสร้างแบบจำลองในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้น ไม่เฉพาะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสูญเสียทรัพยากรแล้วยังมีนัยสำคัญที่สามารถแก้ไขปัญหาการผลิตของอุตสาหกรรมทางการก่อสร้างในการสนับสนุนและพัฒนาการลงทุนด้านไอที การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการทั้งหมด

                การบริหารจัดการวงจรชีวิตอาคาร(Building Life Cycle Management)

                การบริหารจัดการข้อมูลอาคารภายใต้กรอบของวงจรชีวิตอาคาร กล่าวคือ ต้องคลอบคลุมความเป็นไปได้ทั้งหมดที่อาคารจะเป็นไปและผูกพันถึงการคาดการณ์ความเป็นไปของอาคารล่วงหน้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยปัจจัยหลากหลายทาง

                      การสร้างและเก็บรักษาข้อมูลในรูปแบบของดิจิตัล

                      การพัฒนาและผสานเครื่องมือกลไกในการเก็บรวบรวมและติดตามข้อมูลในเชิงดิจิตัล

                      การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีความหลากหลายให้มาเข้าคู่ทางเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่อง

                      การกำหนดการรับรู้ วิเคราะห์ และเข้าถึงข้อมูลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวเนื่องในแต่ละระดับความสำคัญ

 

                โปรแกรมประยุกต์ Autodesk Revit

                โปรแกรมประยุกต์ Autodesk Revit เป็นซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบงานด้านอาคารโดยเฉพาะ ในลักษณะของ CAD โดยใช้หลักการสร้างระบบจำลองสารสนเทศอาคารหรือการสร้างรูปแบบจำลองข้อมูลของอาคาร (Building Information Modeling) แทนการเขียนแบบ โดยใช้เครื่องมือตัวแปรผันเปลี่ยนสัมพันธ์ (Parametric Change Engine) โดยสิ่งที่จะได้ติดตามมาคือ แบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบต่างๆ ภาพทัศนียภาพ และถอดแบบวัสดุก่อสร้างอย่างคร่าวๆได้

                รูปแบบของการใช้งานจะเป็นสามมิติ Revit มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในแบบจำลองข้อมูลอาคารหน้าที่หลักของ Revit คือการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันในกระบวนการของการออกแบบและการก่อสร้าง ปัจจุบันสถาปนิกที่ปรึกษาผู้รับเหมาทั่วไปและผู้ผลิตทั้งหมด สามารถสร้างแบบจำลองของตัวเองและฐานข้อมูลจากข้อมูลที่มีโดยผ่านเครื่องมือลงในพื้นที่การทำงานผ่านกระบวนการเชื่อมโยงกลางของ BIM โดยเปลี่ยนรูปแบบของวิธีการแยกส่วนมาส่วนการรวมศูนย์ในส่วนกลางมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีรูปแบบเดียวและฐานข้อมูลเดียวที่เกี่ยวข้อง และจะถูกเก็บไว้เพื่อให้มั่นใจว่าทุกฝ่ายที่มีข้อมูลล่าสุดและไม่มีข้อผิดพลาดในการแปลงความ การติดต่อสื่อสาร และการบริหารจัดการ

                นอกจากนี้ Revit ยังใช้เครื่องมือการแสดงผลที่จะเปลี่ยนการตีความจากรูปแบบของเชิงเทคนิคที่ซับซ้อนเป็นกราฟฟิคแบบง่ายที่สามารถให้การออกแบบที่สลับซับซ้อน มีความเป็นไปได้ในการทำความเข้าใจและนำสู่กระบวนการต่อเนื่องได้อย่างถูกต้องในทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวเนื่อง

                อาจจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า BLM และ BIM เป็นแนวทางของการทำงานในการออกแบบที่ใช้งานอย่างแพร่หลายและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการอย่างสูงในการพัฒนาเชิงของเทคโนโลยีสำหรับงานออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 ----------------------------------------

อ้างอิง

www.archicadthai.blogspot.com

www.bim.construction.com

www.ifma.org
www.students.autodesk.com

 

 


  • 0009.jpg
    เครื่องตัดไฟที่ใช้ ป้องกันได้ 100% จริงหรือ?โดย...ธวัชชัย บุญรอด เครื่องตัดไฟ หรือ เครื่องป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว หลายคนรู้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีติดบ้านไว้ แต่...ก็ยังมีหลายคนที่...

  • DSC_0271.jpg
    โดย...เกรียงไกร เรื่อง/ภาพ สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายไม่ว่าจะในยุคสมัยใด ย่อมเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในยุคนั้นๆ และเมื่อเวลายิ่งผ่านไปเนินนานสักเพียงใด ด้วยกาลเวลาที่ผ่านจะทำใ...

  • S__70885464 (2).jpg
    แนวคิด นวัตกรรมอาคารประหยัดพลังงาน 4.0 ปัจจุบันนี้ภาวะโลกร้อนคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราอีกต่อไป ท่านจะสังเกตได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดรุนแรงและถี่ขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา หากรุ่น...

  • H2.jpg
    HOME & LIVING IN STYLE @FUTURE PARK 3-9 พฤษภาคม 2566 ช้อปเพื่อบ้านให้จุใจต้องเดินงานนี้ HOME & LIVING IN STYLE 3-9 พค. นี้ ที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ครวบตึงสินค้าเ...